Nach Genre filtern

วิเคราะห์​เศรษฐกิจ​

วิเคราะห์​เศรษฐกิจ​

ดร.อมรเทพ จาวะลา

วิเคราะห์เศรษฐกิจและการลงทุน

16 - อาจเห็นธปท.ลดดอกเบี้ยหากเกิดวิกฤติการเมือง
0:00 / 0:00
1x
  • 16 - อาจเห็นธปท.ลดดอกเบี้ยหากเกิดวิกฤติการเมือง

    อาจเห็นธปท.ลดดอกเบี้ยประคองวิกฤติการเมือง หากการประท้วงทางเมืองไม่รุนแรง​ เศรษฐกิจ​ไทยอาจใช้มาตรการทางการคลังของภาครัฐช่วงประคองได้​ แม้กระทบ​ 4 ด้าน​ คือ​ ท่องเที่ยวในประเทศ​ ค้าปลีก​ สินทรัพย์ขนาดใหญ่​ และการลงทุน​ แต่หากรุนแรงและยืดยาว​ เศรษฐกิจเสี่ยงหดตัวแรงกว่าคาด​ ด้านสินเชื่อขยายตัวช้าและกระจุกอยู่ระดับบน​ การลดดอกเบี้ยจะช่วยประคองปัญหา​หนี้เสีย​ เงินเฟ้อต่ำ​ บาทแข็ง​ และเศรษฐกิจเสี่ยงถดถอยไตรมาส4เทียบไตรมาส3 เราอาจเห็นธปท.ลดดอกเบี้ย​ FIDF MPC และชวนธนาคารพาณิชย์​ลดดอกเบี้ยตาม​ แม้ดอกเบี้ยไม่ใช่ยารักษาทุกโรค​ แต่ผู้ป่วยโควิดประเทศไทยยังอยากขอยาพาราลดไข้จากปัญหาการเมืองที่อาจรุนแรงได้ครับ

    Sat, 17 Oct 2020 - 09min
  • 15 - มุมมอง​เศรษฐกิจ​รายสัปดาห์​17-21 สิงหาคม​

    มุมมอง​เศรษฐกิจ​รายสัปดาห์​ 17-21 สิงหาคม 1. ตัวเลข​GDP ไตรมาส​ที่​สอง​ของ​ไท​ยหดตัว​ 12.2%จากปีก่อนหรือ​ หดตัว​ 9.7%จากไตรมาส​ก่อน​หน้าหลังปรับฤดูกาล​ แรงสนับสนุนคือการใช้จ่ายและการลงทุน​ภาค​รัฐ​ แต่ด้านเอกชนอ่อนแอ​ 2.เงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าเล็กน้อยในสัปดาห์นี้​ ยังไม่มีตัวเลขเศรษฐกิจ​สำคัญ​ น่าจะแกว่งตัวในกรอบแคบๆ​ ตามปัจจัยต่างประเทศ 3.จับตาความสัมพันธ์​สหรัฐ​และจีนที่อาจตึงเครียด​ได้อีก​ ซึ่งไม่เป็นผลดีกับดอลลาร์​สหรัฐ​ รวมทั้งสินทรัพย์เสี่ยงเช่นหุ้น​ ขณะที่ที่บาทอาจกลับมาแข็งได้หากมองบาทเป็นสินทรัพย์​ปลอดภัย​ใน​ภูมิภาค​ แม้การเมืองมีความเสี่ยง​ 4.รอตัวเลขส่งออกไทยเดือนกรกฏา​คม​ในสัปดาห์หน้า​ หวังติดลบน้อยลง​

    Mon, 17 Aug 2020 - 02min
  • 14 - มุมมอง​เศรษฐกิจ​รายสัปดาห์​10-14​สิงหาคม​

    มุมมองเศรษฐกิจรายสัปดาห์​ 10-14 สิงหาคม 1. เงินเฟ้อเดือนกรกฏา​คมอยู่ที่​ -​0.98%yoy ขณะที่เงินเฟ้อพื้นฐาน​ (หักราคาพลังงานและอาหารสด)​ อยู่ที่​ +0.39%yoy โดยเงินเฟ้อมีแนวโน้มติดลบน้อยลงจากราคาน้ำมันที่ฟื้นตัวขึ้น​ มองต่อไป​ข้างหน้า​ เงินเฟ้อมีแนวโน้มขยายตัวจากเดือน​ก่อนหน้า​ซึ่งหมายถึงจะติดลบจากปีก่อนน้อยลง​ ส่วนว่าจะขยับมาเป็นบวกได้เมื่อไร​ ผมว่าอาจเห็นได้ในช่วงต้นปีหน้า 2.อัตราการว่างงานสหรัฐลดลงสู่ระดับ​ 10.2%ในเดือนกรกฏา​คม​จากระดับสูงสุดที่​ 15%ในเดือนเมษา​ยน​ แม้จะมีคนกลับเข้ามาทำงานมากขึ้น​ แต่อาจเป็นกลุ่มที่สามารถเปิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ​ได้เร็ว​ เช่น​ ภาคการผลิต​ การก่อสร้าง​ การค้าปลีก​ ขณะที่กลุ่มที่เกี่ยวข้อง​กับการท่องเที่ยวหรือบันเทิงยังฟื้นตัวช้า​ มองเศรษฐกิจสหรัฐยังยากและต้องใช้เวลาอีก​ 2-3 ปีที่จะกลับไปมีอัตราการว่างงานต่ำที่ราว​ 3.5%ในช่วงก่อนโควิด-19 3.สัปดาห์นี้ให้ติดตามราคาทองคำและค่าเงินบาทที่ผันผวนแรง​ โดยมองว่าราคาทองคำที่เพิ่มขึ้นเร็วมาจากความกังวลต่อค่าเงินดอลล่าร์​สหรัฐที่มีแนวโน้มอ่อนค่าตามความเชื่อมั่นเศรษฐ​กิจที่ลดลงหลังผู้ติดเชื้อโควิดพุ่งแรงต่อเนื่อง​ และยังขยับขึ้นได้อีก​ แต่เงินบาทที่แข็งค่าเร็วนั้น​ มองว่าอาจเร็วเกินไป​ อาจมาจากมีดีลใหญ่ที่นำดอลลาร์เข้าประเทศ​ ซึ่งชั่วคราว​ และอาจส่งผลให้เงินบาทกลับมาอ่อนค่าได้ในสัปดาห์​นี้​ 4.สัปดาห์หน้า​ 17 ส.ค. จะมีตัวเลข​ GDP​ ไตรมาส​ที่​สองของไทยที่สภาพัฒน์จะรายงาน​ เรามองว่ามีโอกาสหดตัวได้ถึง​ 14%จากช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน​ แต่น่าจะเป็นจุดต่ำสุดของเศรษฐ​กิจ​ในช่วงล๊อกดาวน์​ มองต่อไปเศรษฐกิจ​ไทย​น่าจะขยายตัวแบบช้าๆ​ แต่ให้ระวังปัญหาการเมืองและการระบาดของไวรัสรอบสอง

    Sun, 09 Aug 2020 - 02min
  • 13 - อ่านใจผู้กำหนดนโยบายการเงิน 5 สิงหาคม​ 2563​ ก่อนประชุม​กนง

    คาดกนง.คงดอกเบี้ยที่ 0.50% ต่อปี คณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง. จะมีการประชุมในวันที่ 5 สิงหาคมนี้เพื่อพิจารณาทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายและมาตรการทางการเงินอื่นที่สำคัญ สำนักวิจัยคาดว่ากนง. จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 0.50% ต่อปีหลังจากที่ได้ลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ลงถึง 3 ครั้งๆ ละ 0.25% จากระดับ 1.25% เมื่อสิ้นปีก่อนหน้า และได้ลดดอกเบี้ยที่จัดเก็บเพื่อชำระหนี้กองทุนฟื้นฟู หรือ FIDF อีก 0.23% จากระดับ 0.46% สู่ระดับ 0.23% ซึ่งการลดดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องได้มีผลช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้ลงทุนและผู้บริโภค แต่ในภาวะความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจเช่นนี้ ประกอบกับที่เอกชนขาดความเชื่อมั่น การลดดอกเบี้ยอาจมีผลต่อการขยายตัวของสินเชื่อไม่มากนัก หรือที่เรียกว่ากับดักสภาพคล่อง (Liquidity trap) โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและเล็กที่แม้ทางธปท.ได้มีมาตรการอัดฉีดเงิน หรือ soft loan ให้แต่มีธุรกิจจำนวนมากที่ยังไม่ได้ใช้หรือไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อประเภทนี้ ซึ่งทางธปท.น่าจะไปเร่งผ่อนคลายเกณฑ์ให้เอกชนใช้สินเชื่อมากกว่าการลดดอกเบี้ย ผมมองว่าทางกนง.ได้ผ่อนคลายมาตรการทางการเงินไปอย่างเต็มที่แล้วในภาวะที่เศรษฐกิจไทยมีความเสี่ยงขาลง และเมื่อเศรษฐกิจไทยเริ่มชะลอการหดตัวหรือมีแนวโน้มว่าได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วดังตัวเลขเศรษฐกิจรายเดือนที่ธปท.รายงาน การผ่อนคลายมาตรการทางการเงินเพิ่มเติมหรือให้ลดดอกเบี้ยลงอีกก็อาจจะไม่จำเป็นมากนัก โดยผมมองว่านอกจากธปท.จะเร่งการใช้ soft loan แล้ว ก็น่าจะหามาตรการแก้ไขปัญหาเงินบาทที่แข็งค่าเทียบสกุลอื่นในภูมิภาคเพื่อช่วยผู้ส่งออก ยังเหลือกระสุนไหมหากเกิด Second Wave การคงดอกเบี้ยรอบนี้ก็เพื่อรักษาขีดความสามารถในการดำเนินนโยบายไว้ใช้ยามจำเป็น เพราะแม้เศรษฐกิจไทยอาจได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วจริงตามที่นักเศรษฐศาสตร์ได้ประเมินไว้ กล่าวคือแม้ตัวเลขเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังจะยังคงหดตัวจากช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน แต่ตัวเลขต่างๆ น่าจะดีขึ้นเทียบเดือนต่อเดือน หรือไตรมาสต่อไตรมาส ซึ่งหมายความว่าไตรมาสที่สามจะดีกว่าไตรมาสที่สอง แม้ยังหดตัวเทียบปีก่อน ซึ่งเป็นลักษณะการฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป แม้ภาพรวมจะดูดีขึ้นแต่เราก็ไม่ควรประมาท เพราะมีความเสี่ยงต่างๆ ในช่วงครึ่งปีหลังที่อาจทำให้เศรษฐกิจไทยกลับมาหดตัวจากไตรมาสที่สองได้อีก โดยเฉพาะหากเราต้องกลับมาปิดเมืองกันอีกจากการระบาดรอบสอง หรือ second wave แล้วทางกนง.จะเหลือกระสุนพอไหม? ผมมองว่ามีกระสุนเหลือ แต่เหลือน้อยนะครับ ซึ่งเครื่องมือที่ทางกนง.อาจหยิบมาใช้ในการพยุงไม่ให้เศรษฐกิจหดตัวแรงหรือพยายามลดภาระทางการเงินให้แก่ผู้กู้ในช่วงปิดเมืองรอบสองได้แก่ 1. ลดการเก็บดอกเบี้ยเข้ากองทุนฟื้นฟูอีกจนหมด ซึ่งจะช่วยลดดอกเบี้ยได้ไม่ต่ำกว่า 0.23% 2. ลดดอกเบี้ยนโยบายจนหมด จาก 0.50% เหลือ​ 0% ซึ่งต่ำอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน 3. ขอความร่วมมือแบงก์พาณิชย์​ลดดอกเบี้ยลงอีก หรือ moral suasion เพื่อช่วยกันลดภาระทางการเงินของผู้กู้และอาจขอให้ช่วยปล่อยสินเชื่อเพื่อสนับสนุนลูกค้ารายย่อยหรือ SME บางประเภทที่ได้รับผลกระทบ 4.ขยายเวลามาตรการพักชำระหนี้ เพื่อให้ลูกค้าที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจมีกระแสเงินหมุนเวียนเพียงพอและอาจใช้จังหวะเวลาช่วงนี้ในการปรับโครงสร้างหนี้ในระยะยาว แต่ก็ควรสร้างแรงจูงใจให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจน้อยและมีความสามารถในการชำระหนี้ กลับเข้ามาชำระหนี้ตามปกติเพื่อให้ธนาคารมีเงินทุนไปปล่อยสินเชื่อต่อได้ 5. ผ่อนคลายกฏระเบียบการกำกับสถาบัน​การเงินให้ปล่อยสินเชื่อได้ง่ายขึ้น หรือผ่อนคลายเกณฑ์การใช้ soft loan ของกลุ่ม SME ให้คล่องตัวมากขึ้นเพื่อให้ธุรกิจต่างๆ สามารถเข้าถึงสินเชื่อได้ 6. ธปท.อาจให้น้ำหนักการใช้นโยบายอัตราแลกเปลี่ยน​หรือเข้าแทรกแซงเพื่อให้เงินบาทอ่อนค่ามากขึ้น อ่านใจกนง. ... จะกำหนดนโยบายการเงินต่อไปอย่างไร ผมคิดว่าเศรษฐกิจไทยผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วในช่วงไตรมาสที่สอง แต่การฟื้นตัวในช่วงครึ่งปีหลังเต็มไปด้วยความเสี่ยง ความเสี่ยงหรือปัจจัยทั้งหมดนี้อาจมีผลให้ทางธปท. ยังคงต้องเฝ้าระวังตัวเลขทางเศรษฐกิจและพร้อมใช้มาตรการที่ผ่อนคลายเพิ่มเติม เสริมไปกับมาตรการทางการคลังที่อาจมีขึ้นอีกในอนาคตหลังปรับครม. ซึ่งในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันที่อยู่ช่วงการฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไปเช่นนี้ ผมขออ่านใจกนง. ว่า เขาอาจเลือกที่จะคงดอกเบี้ยต่ำลากยาว และหาทางใช้มาตรการอื่นนอกจากอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการพยุงเศรษฐกิจหากเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวช้ากว่าคาด ผมมองว่าทางกนง. น่าจะเริ่มใช้กลไกอัตราแลกเปลี่ยนมากขึ้นในอนาคต เพราะเรามองเงินบาทมีความเสี่ยงแข็งค่าเทียบดอลลาร์สหรัฐฯ และสกุลอื่นในภูมิภาคได้อีก และหากโชคร้ายเกิดวิกฤติรอบสอง ผมก็ขอเดาใจกนง. ว่าพวกเขายังมั่นใจว่ายังมีเครื่องมือในการพยุงเศรษฐกิจได้ครับ

    Wed, 05 Aug 2020 - 03min
  • 12 - เงินเฟ้อติดลบ... เงินฝืดไม่ฝืด

    เงินเฟ้อติดลบลากยาวทำให้เกิดเงินฝืด​ หรือ​ deflation แต่วันนี้เรามีเงินฝืดร่วมกับเศรษฐกิจที่ถดถอย​ จึงเปลี่ยนจากภาวะชะงักงันทางเศรษฐกิจ​ หรือ​ Economic​ Stagnation ลามเข้าสู่​ Recession เพราะไม่ใช่เพียงราคาน้ำมันที่ลดลง​ทำให้เงินเฟ้อทั่วไปติดลบ แต่ราคาสินค้าอื่นๆ​ ที่สะท้อนกำลังซื้อของคนก็ลดลงตามทำให้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน​ (ไม่รวมพลังงานและอาหารสด)​แทบไม่ขยายตัว​ ที่จริงราคาสินค้าเกษตรขึ้นมานานแล้วจากปัญหาภัยแล้ง​ที่ผลผลิตออกมาน้อย​ แต่รายได้ภาคเกษตรหดตัว​ กำลังซื้อเลยต่ำ​ อีกทั้งการเลิกจ้างในกลุ่มนอกภาคเกษตรมีผลให้กำลังซื้อโดยรวมอ่อนแอ มองไปข้างหน้า​ มีสองประเด็นต้องจับตามอง​ ประเด็นแรก​ เงินเฟ้อใกล้ถึงจุดต่ำสุดตามราคาพลังงาน​ ในสถานการณ์​ไม่ปกติเช่นนี้​ เราอาจต้องเทียบพัฒนาการเงินเฟ้อเทียบเดือนก่อนหน้ามากกว่าเทียบปีก่อน​หน้า คือแม้เงินเฟ้อติดลบถึง​ - 3.44%เทียบพ.ค.62 ซึ่งถือว่าลงลึกมาก​ แต่เงินเฟ้อกลับแทบไม่เปลี่ยนแปลง​ (+0.01%) เทียบเดือนก่อน​ นั่นหมายความว่าเงินเฟ้อน่าจะลดการติดลบลง​ และหากดูปัจจัยสนับสนุนก็มาจากราคาพลังงานที่ฟื้นตัวขึ้นจากเดือนก่อนหน้า​ ซึ่งราคาพลังงานเป็นส่วนสำคัญไม่เพียงแต่ในสัดส่วนเงินเฟ้อ​ แต่มีผลทางอ้อมต่อค่าขนส่งและราคาวัตถุดิบในสินค้าอื่นๆ​ ด้วย​ ประเด็นที่สอง​ มาตรการรัฐลดค่าครองชีพ​ช่วยลดเงินเฟ้อ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ต่ำส่วนหนึ่งมาจากค่าไฟฟ้าที่ลดลง​ ซึ่งตัวเลขอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ขยายตัว​ 0.01%เทียบปีก่อน​ หรือหดตัว​ 0.3% จากเดือนก่อนหน้า​ อาจไม่เพียงสะท้อนกำลังซื้อในประเทศที่อ่อนแอ​จาก คนขาดกำลังซื้อ​ ราคาสินค้าจึงขึ้นไม่ได้​เพียงอย่างเดียว แต่มีบางกลุ่มที่อาจปรับตัวลดลงตามมาตรการรัฐชั่วคราว​ เช่น​ ค่าไฟฟ้า​ ซึ่งต้องดูกันต่อไปว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะเป็นเช่นไร​ หลังสิ้นสุดมาตรการประคองค่าครองชีพสิ้นสุดลง​ ซึ่งน่าจะขยับขึ้นมาได้บ้าง​ ที่ผมห่วงในช่วงครึ่งปีหลัง​ หลังมาตรการลดค่าครองชีพสิ้นสุดและราคาน้ำมันเริ่มขยับขึ้นแล้ว​ คือเงินเฟ้อจะเริ่มขยับขึ้นแต่รายได้คนยังหาย​ ซึ่งเชื่อว่ารายได้หรือ​ GDP​ คงหดตัวลากยาวในปีนี้​ และหากราคาน้ำมันหรือสินค้าขึ้น​ ฐานะความเป็นอยู่ของคนจะยิ่งลำบากกว่านี้​ก็ได้ครับ ตกลงเงินฝืดหรือไม่ฝืด... ตามนิยามคงตอบว่ายังแต่ก็เกือบจนจะล้ำเส้นละครับ​ แต่ผมว่าพูดให้ชัดว่าฝืดไปเลยดีกว่า​ เงินเฟ้อติดลบมานาน​ ไม่เพียงราคาน้ำมันแต่กำลังลามมาสินค้าอื่น​ อุปสงค์ก็อ่อนแอ​ ในอดีตเราแทบไม่นิยามเงินฝืดกันเลย แม้ช่วงปี​ 2008-2009​ ที่เงินเฟ้อติดลบ​ แต่เศรษฐกิจลงลึกสุดในช่วง​ไตรมาสสองปี​ 2009​ ก่อนฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว​ จะมองฝืดหรือไม่​ วันนี้ต้องถามก่อนว่านอกจากราคาสินค้าที่ลง​แล้ว​ ราคาสินทรัพย์อื่นๆ​ เช่น​ บ้าน​ รถยนต์​ ก็ลดลงด้วย​ มีเพียงหุ้นที่ทะยานขึ้นอย่างรวดเร็วหลังดิ่งลงในช่วงเดือนมีนาคม​ ด้านการว่างงานก็เพิ่มขึ้นมาก​ รายได้คนก็ลดลง​ จริงๆ​ เราน่าจะถามว่าเศรษฐกิจไทยที่แบ่งเป็นสองด้าน​ ที่ด้านหนึ่งทรุดหนัก​ อีกด้านฟื้นอย่างรวดเร็ว​ ด้านหนึ่งเรียกเงินฝืด​ เพราะอีกด้านคงไม่ใช่​ มองต่อไป​ แล้วนโยบายการเงินจะรับมือเช่นไร​ ผมมองว่าต่อให้เงินฝืดจริง​ ก็ไม่ได้แปลว่าทางธปท.จะทำอะไร​เพิ่มเติม​ แม้ใช้นโยบายการเงินโดยอิงกรอบเงินเฟ้อเป้าหมาย​ แต่ก็มีความยืดหยุ่นมาก​ ต่อให้ตกกรอบล่างนานๆ​ ก็อธิบายได้ว่าทำไมจะไม่ลดดอกเบี้ยอีก หรือต่อให้ไม่หลุดกรอบแต่มีปัจจัยเสี่ยงอื่นที่เขาสนใจก็ลดดอกเบี้ยได้​ อันนี้จะเป็นปัญหาในการอธิบายสื่อสารให้คนเข้าใจทิศทางนโยบายการเงินในอนาคตครับ​ แต่ไม่ใช่ว่าเขาผิดนะครับ​ เพียงแต่ตลาดการเงินมันซับซ้อนมาก​ วันนี้อยากให้นักเศรษฐศาสตร์เอาคนเป็นตัวตั้งมากกว่าดัชนี​ เพราะต่อให้เราเถียงกันว่าดัชนีอัตราเงินเฟ้อบอกว่าเราเข้าสู่ภาวะเงินฝืดหรือไม่​ แต่คนไทยวันนี้รายได้ฝืดเคือง​ เงินไม่มีใช้​ ของที่ผลิตออกมาขายไม่ได้จนต้องลดราคาลง​ อย่างน้อยเก็บเงินสดไว้ก่อน​ เงินจึงมีค่ามาก... ใครไม่มีเงินจะรู้ดีครับ

    Fri, 05 Jun 2020 - 03min
Weitere Folgen anzeigen

Podcasts ähnlich wie วิเคราะห์​เศรษฐกิจ​