Podcasts by Category

ธรรมละนิด

ธรรมละนิด

พระอาจารย์ชยสาโร

ธรรมละนิด

81 - ธรรมละนิด : การุณยฆาต
0:00 / 0:00
1x
  • 81 - ธรรมละนิด : การุณยฆาต

    พระอาจารย์มีความเห็นเกี่ยวกับ ‘การุณยฆาต’ อย่างไร หากมนุษย์คนหนึ่งใช้ชีวิตมาอย่างเต็มที่แล้ว พอใจในชีวิตที่ผ่านมาของตัวเองมาก และพอใจที่จะมีอายุขัยแค่อายุ ๖๐ ปี ไม่ได้ป่วยร้ายแรง ไม่ได้มีอาการซึมเศร้า ทำไมการทำ ‘การุณยฆาต’ ถึงเป็นสิ่งที่ไม่สมควร หากการมีอายุที่มากขึ้นคือการทรมาน สังขารอาจเสื่อมลงกว่านี้? ข้อแรก ก็ไม่เห็นด้วยกับการขโมยคำว่า “กรุณา” ใช้ในการฆ่าคน ก็แปลไม่ดี คือมันแปลแบบไม่ยุติธรรม มันกลับเป็นการบอกอยู่ในตัวว่าเป็นสิ่งที่ดี พอฟังว่า “กรุณา” โอ้...ฆ่าด้วยความกรุณามันอาจจะดี แต่เราไม่ถือว่าเป็นความกรุณา การที่มองชีวิตเหมือนเป็นสินค้าอย่างหนึ่งที่ว่า ใช้ได้พอสมควรแล้ว อยากทิ้งแล้ว ใช้แล้วทิ้งนี่นะ ก็เป็นมุมมองต่อชีวิตที่อาตมาไม่เห็นด้วย การุณยฆาตมันจะมีเหตุผลบ้างถ้าเชื่อว่า ‘ตายแล้วสูญ’ แต่เราถือว่าผู้ที่ค้นคว้าในเรื่องจิตวิญญาณอย่างลึกซึ้งที่สุด เป็นแบบนักค้นคว้า นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ คือพระพุทธเจ้าและพระอริยเจ้าทั้งหลาย ซึ่งยืนยันในเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด อายุหกสิบแล้ว ตายแล้วนี่จะไปไหน รับรองตัวเองได้ไหม มั่นใจว่ามันจะไปที่ดีไหม ถ้าคิดว่าปิดสวิตซ์หมดเรื่อง ก็อาจจะโอเคนะ แต่มันไม่เป็นอย่างนั้น จะอย่างไรไหม แล้วมั่นใจไหมว่าจะดับสูญ ด้วยเหตุผลอะไร เหมือนเราจะอยากรู้เรื่อง สมมติว่าอยากรู้เรื่องควอนตัมฟิสิกส์อย่างนี้ เราจะไปขอความรู้จากเด็กนักเรียน ม.สาม หรือจากศาสตราจารย์ที่ฮาร์วาร์ด คิดว่าถ้าเป็นไปได้นะ ศาสตราจารย์จากฮาร์วาร์ด ฉะนั้นอยากรู้ว่าตายแล้วไปไหนก็ไปศึกษาคำสอนพระพุทธเจ้า ก็เป็นผู้รู้ในเรื่องนี้ดีที่สุด หรือถ้าอย่างน้อย สมมติว่าเราบอกว่าไม่เชื่ออาจารย์ทางฮาร์วาร์ด ศาสตราจารย์ เชื่อเด็ก ม.สาม ก็เป็นสิทธิที่จะตัดสินอย่างนั้น แต่ในขณะเดียวกันคิดว่า ถ้าปฏิเสธว่าอาจารย์ ศาสตราจารย์ฮาร์วาร์ดนี่ไม่รู้เรื่องเลย เป็นคนงมงาย อาตมาว่านี่มันกล้าเกินไปนะ มันไม่ฉลาด การที่มองชีวิตเหมือนเป็นสิ่งที่...ก็มีความสุขเมื่อไร ก็อยู่ไป หมดความสุขแล้วก็ให้ดับ ให้ปิดสวิตซ์ แล้วต่อมาสมมติว่าคนห้าสิบก็รู้สึกอย่างนั้น หรือว่ามีลูก ลูกก็จบปริญญาตรีแล้ว รู้สึกชีวิตเราสมบูรณ์นะ ได้ปริญญา ปริญญาตรี ปริญญาโทเกียรตินิยม จากนี้ชีวิตก็คงไม่มีอะไรดีกว่านี้ จบตรงนี้แบบ end on high จากนี้ชีวิตก็คงไม่มีอะไรสนุก หรือว่า อกหักแล้วคงไม่มีอีกแล้ว พอไม่มีคนนี้แล้ว ไม่รู้จะอยู่ทำไมแล้ว ชีวิตไม่มีค่าแล้ว คือเหตุผลอยากฆ่าตัวตายหรือที่จะดับชีวิตสำหรับคนที่เชื่อว่าตายแล้วสูญ มันมีมาก ส่วนที่อาตมาเป็นห่วงโดยเฉพาะในสังคมไทยที่กำลังเป็นสังคมคนสูงอายุ ซึ่งในอนาคตเราก็จะลำบากมากในการดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งเริ่มๆ จะมี ก็มีอยู่แล้วที่ผู้สูงอายุรู้สึกเป็นภาระกับลูกหลาน อู้ว...ลูกหลานต้องเสียค่ารักษาพยาบาล โอ...เราตายดีกว่า จะได้ไม่เป็นภาระ ก็จะนำไปสู่กระแสสังคมว่า ถ้าผู้สูงอายุรักลูกรักหลานจริงๆ แล้วไม่อยากเป็นภาระกับเขา ให้ตายดีกว่า อันนี้มันเป็นสิ่งที่เป็นไปได้นะ ในต่อไป ถ้าเราทิ้งหลักเรื่องความเวียนว่ายตายเกิด ในหลักการเห็นคุณค่าของชีวิต ในการดูแลชีวิต มันก็เป็นไปได้ทุกอย่าง ฉะนั้นเรื่องการุณยฆาตนี่ไม่เห็นด้วยอย่างมาก พระอาจารย์ชยสาโร

    Tue, 06 Feb 2024
  • 80 - ธรรมละนิด : ประโยชน์สูงสุดของมนุษย์

    ศิษย์เข้าใจว่าสิ่งที่เป็นประโยชน์สูงสุดของมนุษย์เรา คือ เป็นผู้ไกลจากกิเลส ตัณหา อุปาทาน ความเข้าใจในคำว่า ‘ประโยชน์’ เช่นนี้ เพียงพอแล้วหรือไม่ พระอาจารย์มีความคิดเห็นอย่างไร? คือประโยชน์ตน ความสุขตน ใช่ แต่มองในทางบวกก็คือ การปฏิบัติถึงขั้นนี้ ก็มีผลทำให้ความเมตตากรุณา ปัญญา ความเป็นอิสระภายในจะอุดมสมบูรณ์ เพราะฉะนั้นผู้ที่ปล่อยวางหรือว่าหลุดพ้นจากกิเลสทั้งหลาย แล้วถึงพร้อมด้วยคุณธรรมทั้งหลาย เป็นผู้ที่สามารถสร้างประโยชน์กับส่วนรวมได้เต็มที่ เพราะไม่มี ไม่ต้องทำอะไรเพื่อตัวเองอีกแล้ว แล้วก็มีความเมตตากรุณา มีเจตนาบริสุทธิ์ในการสร้างประโยชน์ และมีปัญญา มีกุศโลบายในแนวทางที่จะสร้างประโยชน์ให้มาก เพราะฉะนั้นถ้าเราจะเน้นในสิ่งที่ปล่อยวางไป บางทีมันจะฟังแบบ ไม่มีอะไร ไม่รู้จะอยู่ทำไม เรียกว่าเราก็ต้องบาลานซ์ (balance) ด้วยคุณธรรมที่เกิดทดแทนสิ่งที่ไม่ดีที่จากไปหรือขาดไป พระอาจารย์ชยสาโร

    Tue, 16 Jan 2024
  • 79 - ธรรมละนิด : ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย

    ขอท่านอาจารย์โปรดให้คำแนะนำการดูแลคุณพ่อหรือคุณแม่ซึ่งป่วยอยู่ในระยะสุดท้าย? หนึ่ง ก็ต้องเคารพในความต้องการของคุณพ่อคุณแม่ อย่างเช่น ถ้าคุณพ่อคุณแม่ไม่ชอบฟังเทศน์ ไม่ชอบเลย ไม่ชอบ...อย่าไปบังคับมาก ...นี่ก็ต้องเปิดเสียงธรรมะ เปิดนั่น… ใช่ ถ้าเป็นเรานี่ก็คงดี แต่ต้องดูใจท่าน บางทีท่านอาจจะฟังเพลงมากกว่า คืออย่าไปแบบเข้มงวดมากเกินไป อย่าไป… เคารพในความต้องการของท่าน สอง นี่ก็ควรจะมีการสลับพอสมควร เพราะถ้าเหนื่อยมากเกินไป บางทีอารมณ์เราเสียแล้วตอนหลังก็เสียใจ ต้องดูแลสังขารของเราด้วย บางที...มันไม่ใช่บางที หลายครั้ง ผู้ที่อยู่วาระสุดท้ายเขาอยากไปเต็มที่แล้ว แต่ท่านไม่ไปเพราะเกรงใจลูก ลูกก็ทำท่าจะทำใจไม่ได้ถ้าคุณพ่อคุณแม่จากเราไป ถ้าเป็นไปได้ก็อย่าให้ท่าน… ลูกก็รักมาก ลูกก็อยากให้อยู่นานๆ แต่ถ้าถึงเวลาคุณพ่อก็ไม่ต้องเกรงใจนะคะ ไม่ต้องเป็นห่วง ของเราก็เรียบร้อยทุกอย่าง ไม่ต้องเป็นห่วง มันจะไปเมื่อไรก็ตามสบาย คือเหมือนเราอนุญาตว่า ท่านรู้สึกท่านพร้อมเมื่อไรท่านก็ไม่ต้องแบบอึดอัดใจว่า มันเป็นบาปไหมหนอ ทิ้งลูกที่กำลังทุกข์ใจ ก็เป็นการเสียสละของลูก แต่ถ้าพ่อแม่ผู้ที่อยู่วาระสุดท้ายท่านเป็นคนเข้าวัด ถ้าเรามีเปิดธรรมะบ้าง หรือว่าช่วงเช้าช่วงเย็น ชวนลูกหลานไปทำวัตรสวดมนต์กับท่านนี่จะดีมาก แต่อยู่ในห้องนี่ต้องดูแลอารมณ์ ถ้าเกิดความไม่พอใจกัน อย่าเพิ่งทะเลาะทั้งๆ ที่ท่านนอนแบบไม่รู้ คือคนที่หลับตาดูไม่รับรู้อะไรนี่ บางทีได้ยินหมดเลย คือหูจะเป็นอวัยวะสุดท้ายที่จะเสื่อมไป ถ้าท่านยังรู้ตัวอยู่ พยายามดูว่าท่านยังมีอะไรวิตกกังวลไหม มีอะไรที่ท่านไม่สบายใจไหม ชวนให้ท่านปล่อยวางในเรื่องนั้น ท่านเป็นห่วงเรื่องทรัพย์สินเงินทอง เรื่องที่ดิน เรื่องลูกหลาน เรื่องนั้น เรื่องนี้ ชวนคุยให้ค่อยๆ ชำระในเรื่องนี้ พระอาจารย์ชยสาโร

    Tue, 28 Nov 2023
  • 78 - ธรรมละนิด : โฆษณากับมุสาวาท

    ในการทำการค้า บางครั้งอาจจะต้องใช้คำโฆษณาเชิญชวนให้คนคล้อยตาม เราจะมีวิธีรักษาศีลข้อมุสาวาทให้บริสุทธิ์ได้อย่างไร? ก็คือศีลข้อนี้เป็นมาตรฐาน คือศีลห้าข้อนี่เป็นเครื่องระลึกของการเจริญสติในชีวิตประจำวัน คือไม่ใช่ว่ารักษาศีลจะได้เจริญสติ แต่ในการเจริญสติในชีวิตประจำวัน ศีลห้าข้อนี่มันเป็นเครื่องระลึกของสติ นี่มันจะอยู่ในใจว่า “เอ๊ะ จริงหรือไม่จริงอย่างไร” อันนี้ก็คือตัวสติ ก็เกิดขึ้นแล้ว เพราะฉะนั้นถ้าจะให้ศีลบริสุทธิ์ต้องพูดตรงตามความเป็นจริง แต่ถ้าในบางกรณีรู้สึกเหลือวิสัยจริงๆ ก็ต้องให้มันตรงเท่าที่จะตรงได้ อย่างน้อยมันก็เป็นความคิดอยู่ในใจว่า พยายามให้ตรงที่สุด เพราะเป็นเครื่องระลึกของสติ บางทีมันก็จะทำให้ปัญญาทำงาน เอ้อ...เราสามารถพูดได้โดยไม่ต้องโกหกก็ได้ มันก็มีเทคนิคในการพูดที่เราค่อยเรียนรู้ คือจะโฆษณาของ บางทีมันไม่ใช่ว่ามีทางเลือกระหว่าง พูดความจริงกับโกหกเต็มที่ มันก็มีวิธีพูดที่มันเป็นเรื่องศิลปะของการถ่ายทอดกับการสื่อสารกัน คือเราจะพูดกับคนล่าสัตว์เหมือนกันว่า ล่าสัตว์นี่อย่างไรก็เป็นบาป แต่ทำให้น้อยที่สุด เท่าที่จะทำได้ แล้วทำอย่าให้โหดเหี้ยม อย่าให้มันมีการทรมาน ถ้าจริงๆ มีทางเลือกไม่ได้ อย่างน้อยให้ทำให้น้อยที่สุด ให้เป็นบาปให้น้อยที่สุด ในการโฆษณานี่ส่วนมากคนก็รู้อยู่ในระดับหนึ่งว่า เขาพูดเกินอย่างนั้นเอง “ดีที่สุดในประเทศไทย” หรืออะไรอย่างนี้ ก็เป็นการอวดตัวของเจ้าของสินค้า แต่ถ้าเราโกหกในลักษณะที่ทำให้เป็นการหลอกลวง หรือว่าทำให้คนเข้าใจว่าคุณภาพเป็นอย่างนี้ ซึ่งที่จริงคุณภาพก็แค่นี้ อันนี้เรียกว่าเป็นบาปมาก แต่ถ้าเป็นโฆษณาแบบ “ใช้สินค้านี้ จะมีความสุขเหลือเกิน” อะไรนี้ก็ถือว่าธรรมดาของการโฆษณาอยู่ พระอาจารย์ชยสาโร

    Tue, 07 Nov 2023
  • 77 - ธรรมละนิด : ขี้กังวล

    มักจะขี้กังวลกับการใช้ชีวิต คอยพะวงหน้าพะวงหลังกลัวว่าจะทำสิ่งต่างๆ ได้ไม่ครบถ้วน ควรแก้ไขอย่างไรดี? ความรอบคอบเป็นสิ่งที่ดีอยู่แล้ว ก่อนที่เราจะทำอะไร เราก็ทบทวนว่า ควรไม่ควร อย่างไร แต่ถ้าไม่ระวังมันจะเกินพอดี มันจะกลายเป็นการพะวง ซึ่งสิ่งที่ควรจะระลึกอยู่เสมอก็คือ ‘ชีวิตของเรานี่ ทุกครั้งที่เราต้องตัดสิน เป็นการเสี่ยง’ ไม่มี...ไม่มีในชีวิตที่เราจะรู้ล่วงหน้าร้อยเปอร์เซนต์ว่า แน่นอน ใช่เลย เพราะฉะนั้นโอกาสที่จะผิดหวังหรือจะไม่เหมือนที่คิด มันก็มีอยู่เสมอไป พระพุทธองค์ก็เน้นที่จิตใจของเราที่มีความพร้อมที่จะรับมือ ที่จะได้กำไรจากสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายที่ถูกใจหรือไม่ถูกใจก็ตาม เพราะฉะนั้นเราก็คิดแล้ว...มันน่าจะทำอย่างนี้นะ ถ้าเกิดไม่เหมือนที่คิด เราก็พร้อมที่จะปรับแก้ไขได้อยู่เสมอ เวลาเราให้กำลังใจใครก็บอกว่า “ประตูนี้ปิด ก็ทำให้ประตูนี้เปิด” ใช่ไหม แต่ในทำนองเดียวกัน ทุกครั้งที่ประตูนี้เปิด ก็มีประตูอีกหลายประตูที่ปิด เพราะฉะนั้นมันก็เป็นธรรมดาของชีวิต เราจึงต้องสังเกตตัวเองว่า การคิดพะวงอย่างนี้มันไม่เกิดประโยชน์กับชีวิตเลย หนึ่ง ก็ทำให้เหนื่อย สอง ก็จิตใจก็ไม่มีความสุข สาม การคิดพะวงกลับไปกลับมา ก็ไม่ได้ทำให้ปัญญาเพิ่มขึ้นในการตัดสิน ในการวิเคราะห์ปัญหา การแก้ปัญหา ก็มีแต่ลบ มีแต่เสียอย่างเดียว ก็เป็นนิสัยความคิดที่เราควรจะเห็นโทษ แล้วปล่อยวาง มันไม่ใช่ว่าทำอะไรก็ทำตามอารมณ์ แต่เราต้องหาความพอดี หรือถ้าเรารู้สึกว่าหาความพอดียาก ให้กำหนดเวลา อย่างเช่น โอเค วันนี้เราก็จะคิดทบทวน แต่พรุ่งนี้เช้าแปดโมง ต้องตัดสิน อะไรแบบนี้ คือให้เวลาเต็มที่ แต่หลังจากนั้นตัด...จบ นี่ก็จะเป็นวิธีที่จะสร้างวินัยกับตัวเองแบบไม่ค่อยธรรมชาติทีเดียว แต่ว่าพอเราทำไปทำมาก็จะง่ายขึ้นๆ พระอาจารย์ชยสาโร

    Tue, 17 Oct 2023
Show More Episodes

Podcasts similar to ธรรมละนิด